วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

The COFFEE SHOP and luxury HOME-STAY
































Ban Thong U is a 76 year old teak house on the Ping river bank in Wad Ket area, a must to visit.

Ban Thong U is also adjacant to the Chansom foot-bridge, the site where the first ancient bridge in Chiangmai was built. Staying in Ban Thong U during the three day festival of Loy Kratong is the rare opportunity to be in the heart of all the excitement.

There are only two air-conditioned bedrooms with a shared living room in the middle. Shared modern warm shower and toilet for the guests are down-stairs.

The offer is exclusively for ladies and married couple. No children nor pets are allowed.

This is the first time ever that the house is open to the public. Reservation is not avialable. Guests will be interviewed and accepted on site only.

We reserve the right to refuse to serve any guest whom we consider may not be suitable for the delicacy of such museum-like and family-home environment.

The charge per room is 2,000 Bath(cash only) per day with breakfast and dinner included.

Hand-washed laundry service and ironing is also available.

No liability to any injury, death, lost or damages is accepted. The guests are solely responsible for their own safty and belongings.
Tel 66 81 472 0121

บ้านทองอยู่ เชสเชียร์ เชียงใหม่

จาก http://siriwattanacheshire.org/th/houses_thongyoo.html

บ้านทองอยู่ เชสเชียร์ สันผีเสื้อ เชียงใหม่ เป็นบ้านพักผู้พิการแห่งที่ 3 ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 โดยทายาทของนายทองอยู่ ตียาภรณ์ ได้น้อมเกล้าฯถวายที่ดิน 9 ไร่ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสโมสรโรตารี่ธนบุรี โดยนายอารักษ์ ตียาภรณ์ นายกสโมสรขณะนั้น พร้อมกรรมการและสมาชิกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินอีกจำนวนหนึ่ง ตามโครงการบริการชุมชนของสโมสร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ที่ดินและเงินดังกล่าวให้แก่มูลนิธิสิริวัฒนา เชสเชียร์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อนำไปสร้าง “บ้านพักสำหรับ ผู้พิการ” ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และไม่มีที่พักพิงในภาคเหนือ โดยมีท่านผู้หญิงถวิล ประกอบนิติสาร เป็นประธานมูลนิธิฯและได้เชิญคุณหญิงหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ เป็นประธานสาขาเชียงใหม่

ต่อมาคุณหญิงสุมน สุชีวะ เป็นประธานมูลนิธิฯในปี พ.ศ.2523 จึงได้เชิญ นายประสงค์ อิฐรัตน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการบ้านต่อมา นายประสงค์ อิฐรัตน์ ได้รณรงค์หาทุนมาก่อสร้างบ้านพักผู้พิการจนแล้วเสร็จ สามารถเปิดรับผู้พิการเข้าอยู่อาศัยในปี 2524 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดบ้านพักแห่งนี้พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2525

ปัจจุบัน คุณหญิงตรึงใจ อิฐรัตน์ เป็นประธานกรรมการบ้าน นางจุติมา อนุมัติราชกิจ เป็นประธานฝ่ายหาทุนและเลขานุการ นางสาวจิรภา ปิตาวรรณ เป็นฝ่ายปกครองบ้านฯ นางสุดาลักษณ์ เรี่ยวเธียรชัย เป็นเหรัญญิกบ้านฯ มีสมาชิกประมาณ 30 คน

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ไหว้พระธาตุประจำปีจอ เยือนพิพิธภัณฑ์วัดเกต

วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11135 มติชนรายวัน
โดย สุทธาสินี จิตรกรรมไทย


วัดหนึ่งใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่มีความเป็นมายาวนานนับได้หลายร้อยปี คือ วัดเกตการาม จำเพาะเจาะจงที่ตั้งอีกสักนิด ..วัดเกตการาม หรือที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า "วัดเกต" ตั้งอยู่บนถนนเจริญราษฎร์-ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง

ปรากฏหลักฐานว่า วัดเกตสร้างตั้งแต่ พ.ศ.1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย เล่าต่อกันมาว่าครั้งหนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองของพม่า ทรงศรัทธาวัดนี้ จึงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ และนำสิ่งของต่างๆ มาถวายวัด

ภายในวัดมี "พระธาตุเกตแก้วจุฬามณี" เป็นเจดีย์ทรงกลม สถาปัตยกรรมแบบล้านนา ไว้ประดิษฐานพระเกศาธาตุ เป็นที่กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป แต่เป็นพิเศษสำหรับผู้ที่เกิดปีจอ เพราะเชื่อกันสืบมาว่าพระธาตุเกตแก้วจุฬามณีเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีจอ

กลางเดือนสิงหาคม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พาขึ้นเหนือตระเวนเชียงใหม่ แวะไหว้พระธาตุเกตแก้วจุฬามณี วัดเกตการาม ใกล้กับพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี เป็นอาคารไม้หลังหนึ่ง.. เข้าไปดูใกล้ๆ จึงเห็นว่าเป็น พิพิธภัณฑ์วัดเกต

อาคารนี้มีอายุกว่า 100 ปี สร้างและบูรณะโดยลูกหลานคนจีนบ้านวัดเกต ด้านหน้าอาคารเป็นไม้ระแนงโปร่ง มีลูกไม้ชายคา มีไม้กลึง (เคี่ยนปุ้นลม) ที่หน้าจั่ว เดิมเป็นกุฏิของพระครูชัยศีลวิมล (เมืองใจ ธัมโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกต ชาวบ้านย่านวัดเกตเรียกติดปากว่า "โฮงตุ๊เจ้าหลวงเก่า" (กุฏิของเจ้าอาวาสรูปเก่า) พระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์วัดเกต

ถึงปี 2543 จรินทร์ เบน หรือ "ลุงแจ๊ก" ลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ชาวบ้านวัดเกต จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงร่วมกับคณะสงฆ์ และคณะศรัทธาชาวบ้านวัดเกต ทำการบูรณะกุฏิให้เป็นพิพิธภัณฑ์

เริ่มปรับปรุงเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปี 2542 ด้วยวัตถุประสงค์ที่ว่า การพัฒนาและการอนุรักษ์ต้องไปด้วยกันอย่างละครึ่ง จะอนุรักษ์อย่างเดียวไม่ได้ "แรกๆ ลำบากมาก ไม่มีทุนเลย บางครั้งถึงขั้นที่ทางวัดเคยเอาฝาโลงมาต่อเป็นชั้นตู้เพื่อวางของ ดีที่ชาวบ้านย่านวัดเกตร่วมแรงร่วมใจกัน เป็นชุมชนเข้มแข็ง ด้วยใจที่อยากรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครที่มีเงินก็ช่วยเงิน หรือเอาของมาให้ ใครไม่มีเงินก็มาช่วยลงแรง" ลุงแจ๊กที่ตอนนี้อายุ 87 ปี แต่ยังกระฉับกระเฉงแข็งแรงดี เริ่มต้นเรื่อง

แรกเปิดใช้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์วัดสระเกษ" เพื่อระลึกถึงชื่อหนึ่งของวัดเกต แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "พิพิธภัณฑ์วัดเกต" ตามชื่อของวัดในปัจจุบัน ก้าวขึ้นไปบนพิพิธภัณฑ์ จะเห็นพระพุทธรูปศิลปะพม่าประดิษฐานอยู่ทางขวา ส่วนทางซ้ายเป็นที่เก็บข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน อาทิ ตะเกียง กาต้มน้ำ ฯลฯ วางเรียงอยู่บนชั้น

เข้าไปด้านในแล้ว แบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 3 ส่วน เดินทะลุถึงกันได้หมด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอายุนับร้อยปี เป็นที่เก็บตาลปัตร เศียรพญานาคปูนปั้น ซึ่งเป็นสมบัติของวัด และเป็นที่เก็บสิ่งของที่ชาวบ้านย่านวัดเกตนำมามอบให้ ไม่ว่าจะเป็นลุงแจ๊กเอง หรือชาวบ้านคนอื่นๆ อย่าง ภาพถ่ายเก่า มีทั้งภาพเชียงใหม่ในอดีต ภาพคณะสงฆ์วัดเกตสมัยปี 2479

ยังมี หนังสือเก่า ธนบัตรเก่า เครื่องมือช่าง กำปั่นเหล็กสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้วยโถโอชาม ผ้าทอ ผ้าปักดิ้นเงิน ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน ธงมังกรพื้นแดง 2 คู่ เป็นคู่ใหญ่และคู่เล็กซึ่งนำเข้าจากเมืองจีน ไว้ใช้ในพิธีมงคล เช่น ผ้าป่า หรือ กฐิน นับรวมแล้วก็เป็นพันชิ้น

บางชิ้นจัดแสดงอยู่ในตู้กระจก ขณะที่บางชิ้นจัดแสดงไว้ให้ชมอย่างใกล้ชิด "ที่นี่เป็นความร่วมมือร่วมใจระหว่างวัดกับชุมชน ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษา เพราะถือว่าสิ่งของที่จัดแสดงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาวบ้านย่านวัดเกต" ลุงแจ๊กบอกพร้อมรอยยิ้ม

ด้าน อนันต์ ฤทธิเดช วัย 58 กรรมการวัด และประธานพิพิธภัณฑ์วัดเกต เสริมรายละเอียดเรื่องสิ่งของภายในพิพิธภัณฑ์ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งของที่ชาวบ้านบริจาคมาให้สักราว 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 30 เปอร์เซ็นต์เป็นของวัด ทุกวันนี้ชาวบ้านก็นำของมาให้อยู่เรื่อยๆ

คนที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์นั้น อนันต์บอกว่า ส่วนมากจะเป็นนักเรียน มากันเป็นกลุ่มๆ ทั้งที่มากันเองและโรงเรียนพามาชม นอกจากนั้นก็เป็นชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่น และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่อยากเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนเป็นอย่างไร และมีวิธีการเก็บรักษาสิ่งของเก่าแก่ให้คงสภาพดีไว้ได้อย่างไร

ผู้ที่คอยดูแลความเรียบร้อยของพิพิธภัณฑ์ นอกจากลุงแจ๊ก และอนันต์แล้ว ยังมีคนรุ่นใหม่อายุ 10 กว่าปีไล่ไปจนถึง 20 กว่าปี ซึ่งเป็นชาวบ้านวัดเกต มาช่วยดูแลด้วย "ผมช่วยลุงแจ๊กดูแลที่นี่ 2 ระยะ ครั้งแรกสมัยยังหนุ่ม และห่างไปจนกระทั่งมาดูแลอีกครั้งเมื่อปี 2541 ได้ร่วมบริจาคสิ่งของให้ทางพิพิธภัณฑ์ด้วยเหมือนกัน ถึงไม่ได้เป็นสมบัติส่วนตัวของเราแล้ว แต่ก็ยังเห็นอยู่ คนอื่นก็ได้ชื่นชม "ถึงเราจะจากไปแล้ว แต่ของยังอยู่ให้ลูกหลานวัดเกตได้เห็น ได้ภูมิใจ..ได้รู้ว่าเอกลักษณ์และรากเหง้าของเราว่าเป็นอย่างไร" อนันต์ทิ้งท้าย
พิพิธภัณฑ์วัดเกต เปิดทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม แต่หากอยากช่วยเหลือและสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ ก็สามารถช่วยบริจาคเงินได้

มีโอกาสเที่ยวเชียงใหม่ ลองหาเวลาว่างแวะไปชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้ก็น่าจะเข้าที

ความลึกลับของประวัติวัดเกตการาม

โดย ถาวภักดิ์ ตียาภรณ์

แม้มีหลักฐานปรากฎกล่าวถึงวัดเกตมานานกว่า ๕๐๐ ปีแล้ว หากความเป็นมาที่แท้จริง กระทั่งชื่อวัดเกตการามก็ยังไม่ชัดเจนถึงที่มาและความหมาย ข้าพเจ้าจึงประสงค์บันทึกข้อสังเกตต่างๆไว้เพื่อเป็นเป้าหมายในการค้นคว้าศึกษาในเบื้องลึกต่อไป

วัดเกตการามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับคุ้มเจ้าหลวงซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตก หากคุ้มเจ้าหลวงถูกขายให้กับเจ็กโอ๊ว ต้นตระกูลโอสถาพันธุ์และถูกรื้อถอนเพื่อปลูกสร้างตลาดวโรรส(กาดหลวง)ไว้แทนที่


ในปัจจุบันมีสะพานคนเดินเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำโดยสะดวก คือสะพานจันทร์สม หรือขัวแขกนั่นเอง สร้างโดย"แขก"ผู้มีฐานะร่ำรวย เป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา"จันทร์สม" ผู้ล่วงลับไปก่อน แต่ขัวแขกอันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่นัก หากเป็นการสร้างแทนที่ขัวแตะ ในที่ตั้งเดียวกับขัวกุลา สะพานไม้ดั้งเดิมที่ชำรุดเสียหายจากการถูกท่อนซุงชน ด้วยในยุคนั้นใช้แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งท่อนซุงจากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้

สะพานไม้นี้เองที่เป็นสะพานเก่าแก่แห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ มีปรากฏหลักฐานกล่าวถึงแม้ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่าท่าวัดเกตเป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่จะเข้าถึงเมืองเชียงใหม่ได้จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และด้วยเหตุที่ตั้งอยู่หน้าคุ้มเจ้าหลวง จึงต้องเป็นเส้นทางเสด็จเข้าเมืองมาแต่ไหนแต่ไร

ชวนให้นึกถึงเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสะแกของกรุงเทพเป็นวัดสระเกศ ด้วยสืบเนื่องจากครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับเข้าพระนครเพื่อปราบกบฏพระยาสรรค์และความวุ่นวายต่างๆในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยับยั้งสระผมที่วัดสระเกศนี้ก่อนเข้าพระนคร(ธนบุรี)ซึ่งอยู่อีกฝากของแม่น้ำเจ้าพระยาการสระผม ณ อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำ ก่อนเข้าเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทาง อันดูเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกลืมเลือนไปแล้ว บางทีวัดเกตแต่เดิมนั้นอาจเป็นวัดสระเกศของนครเชียงใหม่ด้วยสาเหตุเดียวกัน ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอันคล้ายคลึง อยู่บนเส้นทางก่อนจะข้ามแม่น้ำเพื่อเข้าถึงคุ้มเจ้าหลวง เหมาะกับการทำพิธีสระผมก่อนข้ามฟากเข้าเมืองนัก

ยิ่งไปกว่านั้น อาคารไม้โบราณ ๒ ชั้นหลังหนึ่งของวัดเกต ซึ่งนอกจากอักษรจารึกว่า สร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๒ แล้ว ยังปรากฏชื่อจารึกไว้ว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดสระเกศ

นอกจากที่มาของชื่อวัดแล้ว วัดเกตการามน่าจะเคยมีความสำคัญสูงยิ่งต่อราชสำนักเชียงใหม่ อย่างน้อยในชั้นหลังคือยุครัตนโกสินทร์ อันดูจะมีคติว่าเชื้อวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครเป็นวงศ์แห่งท้าวสักกะเทวราช ดังปรากฏพระนามของเจ้าหลวงในอดีตว่า อินทวโรรส อันมีความหมายว่าบุตรแห่งพระอินทร์

ลงตัวกับพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีของวัดเกต อันถือคติจำลองจากองค์จริงบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ประทับแห่งองค์อมรินทร์ ชะรอยลูกชายพระอินทร์ท่านคงทนคิดถึงบ้านเก่าไม่ไหว จนต้องสร้างองค์จำลองไว้กราบไหว้สักการะให้พอหายคิดถึงกระมัง

ประวัติ บ้านทองอยู่






โดย ถาวภักดิ์ ตียาภรณ์
บ้านทองอยู่ถูกสร้างขึ้นแทนที่ห้องแถวไม้เดิมโดยคุณปู่ทองอยู่ ตียาภรณ์เพื่อรองรับครอบครัวที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แล้วเสร็จและเข้าอยู่ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ปลายรัชสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ ขณะที่พระราชอาณาจักรยังอยู่ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเจ้าหลวงพระองค์สุดท้ายของนครเชียงใหม่ เจ้าแก้วนวรัฐยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งได้ประทานพระสาทิสลักษณ์พร้อมพระลิขิตระบุมอบให้แก่คุณปู่ทองอยู่และคุณย่ากิมเหรียญ เนื่องในวาระขึ้นบ้านใหม่

คุณอาตระการ ตียาภรณ์ ลูกคนที่ ๔ ของคุณปู่เล่าว่า ครั้งวัยเด็ก บ้านเพิ่งสร้างเสร็จไม่กี่ปี ตัวบ้านกว้างใหญ่กว่าปัจจุบันมาก มียกพื้นชานเรือนแผ่ออกไปต่อเชื่อมกับห้องต่างๆ กินพื้นที่กว่าสองถึงสามเท่าของตัวบ้านไม้ที่เห็นปรากฏในปัจจุบัน เช่นเดียวกับแม่น้ำปิงที่กว้างถึงหน้าคุ้มเจ้าหลวงที่ฝั่งโน้นและเกือบจรดบันไดลงเรือนหลังบ้านที่ฝั่งนี้ โดยมีเกาะกลางน้ำเป็นสมรภูมิระหว่างจิ๊กโก๋คุ้มเจ้าหลวง กับจิ๊กโก๋วัดเกต นำโดยคุณอาตระการเอง(ฉายาอ้ายยักษ์) ที่หลังจากตะโกนท้าทายกันจนได้ที่แล้ว ต่างฝ่ายก็จะว่ายน้ำไปตกลงด้วยกำลัง ณ เกาะกลางนี้เป็นกิจวัตร

หนึ่งในเพื่อนสนิทในวัยเรียนของคุณอาตระการที่ชอบมากินนอนขลุกอยู่ที่บ้านนี้เป็นประจำระหว่างปิดภาคเรียน คือ ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตราชเลขาธิการ

ครั้งหนึ่งในวัยเด็กของข้าพเจ้า ผู้เป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๐ ระหว่างปิดเทอมใหญ่ในหน้าแล้ง คุณพ่ออารักษ์พามากราบเยี่ยมคุณปู่และได้พาลงเล่นน้ำปิงหลังบ้านที่ยังใสไหลเย็นน่าดำผุดดำว่าย ท้องน้ำเต็มไปด้วยหินแม่น้ำมนกลม ลื่นเท้า ไม่มีอันตราย

คุณปู่ทองอยู่สืบทอดความเป็นพ่อค้าเชื้อสายจีนจากบรรพบุรุษตระกูลแซ่เตีย ที่ไม่ค่อยใช้วัฒนธรรมประเพณีแบบจีนสักเท่าใดแล้ว นอกจากเพื่อความสะดวกในการค้า เช่นการใช้ยี่ห้อและป้ายชื่อกิจการแบบจีนว่า”หย่งเชียง”(ที่ยังคงแขวนไว้เหนือประตูหน้า) คุณปู่กลับดูเป็นชาวล้านนาที่ทันสมัยมากกว่า ดังเห็นได้จากรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของบ้านที่ผสมผสานทั้ง ๓ วัฒนธรรม เช่น การลบมุมเสาตามหลักฮวงจุ้ยแบบจีน ฝาไหลกับหน้าต่างเตี้ยสำหรับผู้นิยมนั่งพื้นในแบบล้านนาดั้งเดิมในชั้นบน แต่รูปทรงบ้าน ๒ ชั้นและหน้าต่างสูงสำหรับการนั่งเก้าอี้ในชั้นล่างพร้อมเคาเตอร์แบบฝรั่ง แสดงความเป็นบ้านแบบตะวันตกอยู่ไม่น้อย การผสมผสานนี้ลงตัวกับนิสัยการรับประทานของคุณปู่ที่ชอบทานอาหารเช้าแบบฝรั่ง(มีตัวอย่างกล่องเนยกระป๋องจากยุคนั้นให้เห็นอยู่) อาหารกลางวันในแบบล้านนา และอาหารเย็นเป็นข้าวต้มแบบชาวจีน

คุณพ่อของคุณปู่มีชื่อเป็นทางการตามประเพณีจีนอย่างหรูหราว่า จินกี กีเซ็งเฮง ดังจารึกไว้ที่กู่บรรจุอัฐิขนาดใหญ่ที่วัดฝายหิน ท่านเป็นบุตรของเล่าก๋งเตียบู๊เซ้ง ผู้นำชุมชนพ่อค้าจีน ณ เวลานั้นซึ่งอยู่ในรัชสมัยของแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เล่าก๋งเตียบู๊เซ้งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทสนมกับราชสำนักเชียงใหม่ ดังจะเห็นได้จากลูกสะใภ้ที่เป็นบุตรีของพญาแสนภักดี ต้นตระกูลภักดี และเจ้าหม่อนสีมอย เจ้านายฝ่ายเหนือผู้เป็นที่เคารพนับถือของชุมชนชาวเชียงแสน ด้วยเหตุนี้เล่าก๋งเตียบู๊เซ้งจึงสนิทสนมกับพญาผาบ แม่ทัพเชียงใหม่ผู้นำกบฏต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเชียงใหม่จากที่เป็นประเทศราช มีอำนาจปกครองตนเอง มาเป็นมณฑลพายับอันเป็นการรวมอำนาจสู่ส่วนกลาง เป็นเหตุให้ชุมชนวัดเกตและเมืองเชียงใหม่ถูกทิ้งเกือบร้างจากความกลัวภัยสงครามและกองทัพของพญาผาบ หากเล่าก๋งเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ยอมอพยพ ด้วยถือว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกับราชสำนักเชียงใหม่และพญาผาบ แสดงถึงความเป็นเสาหลักของชุมชนของเล่าก๋งบู๊เซ้ง


ย่าทวดบัวจี๋ คุณแม่ของคุณปู่ บุตรีเจ้าหม่อนสีมอย มีน้องสาวชื่อย่าทวดขันแก้วซึ่งมีลูกสาว ๓ กับสามีชาวสก๊อต ลูกคนกลางหรือป้ากลาง(คอนนี่ มังสเกา) เป็นยายของดาราสาวชื่อดัง ลินดา ครอส ในขณะที่ป้ากลางมีชีวประวัติอันลึกลับ โลดโผน ด้วยเคยทำหน้าที่เป็นสายลับให้รัฐบาลไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านเคยถูกทหารญี่ปุ่นจับไปสอบสวนระหว่างปฏิบัติภารกิจในไซง่อน ถูกกักกันไว้ถึง ๓ วัน กว่ารัฐบาลไทยจะสามารถประสานให้ปล่อยตัวได้ ท่านมีความสนิทสนมกับจิม ทอมสันผู้โด่งดัง หนึ่งในผู้ก่อตั้งเครือข่ายสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกาที่กลายมาเป็นซีไอเอในปัจจุบัน ป้ากลางได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่จิม ทอมสันหายตัวที่คาเมรอนไฮแลนด์ของมาเลเซียด้วย

คุณปู่สนับสนุนให้ลูกๆเรียนดีที่สุดและสูงที่สุด สี่ท่านจบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองในสี่จบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา ลูกๆของคุณปู่อาจเรียกได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวเชียงใหม่ ด้วยความสำเร็จทั้งในหน้าที่การงานและสถานะทางสังคม เช่นดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบดีกรมเจ้าท่า และรองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นต้น

บ้านทองอยู่จึงเป็นทั้งหลักฐานและชิ้นส่วนที่ยังมีชีวิตของประวัติศาสตร์นครเชียงใหม่ในยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง ที่จะคงอยู่ต่อไปเพื่อความภาคภูมิร่วมกันมิใช่เพียงแต่ของเหล่าสมาชิกในสกุลตียาภรณ์ หรือชุมชนวัดเกตแห่งนี้เท่านั้น หากเป็นของชาวเชียงใหม่ทั้งหมด

BAN THONG - U's Story

By Tawapak Tiyabhorn

Ban Thong – U, or Thong – U house, was built by my grandfather. His name was grandfather Thong – U. Originally this was a wooden shop house that he replaced to accommodate his fast growing family. The construction was completed and a house warming was held in the year 1931. The kingdom was still under an absolute monarchy. The last ruler of Chiangmai, Lord Kaew Nawarat, gave grandfather Thong – U a photograph of himself with his lordships’ own hand-written message saying, “For Thong U and Gimrien, for house warming”.

Uncle Trakan Tiyabhorn, the 4th child of grandfather Thong – U, spoke of his favorite childhood experience, the Ping River: “The river was much vaster than it is now and even had a small island in the middle”. On the opposite side of the Ping River, directly across from this house, was the Palace of the Lord of Chiangmai. It was also the headquarters of the Palace gang. Uncle Trankan, also known as Ai Yak, during his teens was head of the local Wad Kat gang. The two gangs often yelled across the river exchanging challenging words with one another before swimming to the mid-way island utilizing it as their battle ground to settle the occasion dispute.

A close childhood friend of uncle Trakan, who was a frequent house guest during school holidays, was M.L. Thawisan Ladawan, the late Privy Councillor and His Majesty’s Principal Private Secretary.

During one of my summer holidays, which perhaps was the year 1967, my father, Arrak, took the family to visit grandfather Thong – U. He also took me for a swim in the river. I remember crystal clear waters with the river bed being full of smooth stones under my feet.



Even though grandfather Thong – U carried on his business with the Chinese merchant community from his forefathers, he seemed to practice the Chinese traditions only for the convenience of his work. The Chinese name “Yong Chiang”, on the original sign above the front door, is one of those few examples. Grandfather Thong - U was actually more a proud modern Chiangmai Thai. This is reflecting by the house. Pillars without sharp edges characterize traditional Chinese beliefs. Wooden partitions under the windows that slide open for more light and ventilation belong to the traditional Lanna architecture. Windows on the second floor were built very low, suitable for the old days’ habits when people usually sit and sleep on the floor. Where as all the downstairs windows were built very high, designed for people sitting on chairs. Being a two-story house was obviously of a very modern Western style at the time. The house was most likely one of the first of its kind in Chiangmai.

This multicultural practice is also shown in grandfather Thong – U’s dining habits. He always
started the day with a Western breakfast. Butter was, in those days, canned and imported. Some empty cans were saved for other uses and still remain around the house today. Lunch was the only meal that he allowed traditional Lanna food. Chinese style rice porridge was usually served for dinner.

Grandfather Thong – U’s father was, perhaps, a more traditional Chinese. This is seen in the great grandfather’s traditional official Chinese name, Chingee Geesengheng (Gee for short). This is engraved on his extravagant looking tomb at Wad Fayhin, one of the highest regarded temples at the time. He was a son of the great grandfather, TiyBuseng, who was a prominent figure amongst the Chinese merchant community. His daughter-in-law strongly evidenced his high regarded social status. Great grandmother Buojee, the wife of great grandfather Gee, was a daughter of the high official to the royal Chiangmai court, Phaya Saenpakdi and his wife, Chao Mon Simoy, a Lanna princess.

King Chulalongkorn, Rama V of Siam, attempted to unite all kingdoms as part of his strategy to battle against the Western powers. A Lanna general, Phaya Paab, announced his absolute loyalty to the Chiangmai Ruler and organized an army to rebel against the King. Most citizens of Chiangmai fled in fear of this rebellious army but not the great grandfather Buseng. He was confident that the army loyal to the Chiangmai court would not harm him. This event confirms the special status which great grandfather Buseng held.

His daughter in law, great grandmother Buojee had a sister named Kankeaw who married a Scot and had three daughters. The middle one was Connie Mangskau, the grandmother of the national acclaimed actress, Linda Cross. During the period of World War II, Connie became a secret agent for the Thai government (more of the secret Thai government). She was once captured in Saigon by the Japanese and had been interrogated for three days before the Thai officials could successfully negotiate her release. Working closely with the Americans, Connie became the closest friend of Jim Thompson, one of the founders of OSS. OSS was the original body of the present day CIA. Together they traveled to Malaysia’s,
Cameron Highlands, where Jim Thompson was last seen and the location of his mysterious disappearance.

Grandfather Thong – U sent all of his children to Bangkok for the best education available. Four of them graduated from Chulalongkorn University. Two of them later on gained master degrees from America. The sons’ achievements were the pride of Chiangmai citizens. They held high country positions such as, Deputy General Manager for the Metropolitan Electricity Authority, Advisor to the Deputy Prime Minister, Dean of Engineering Department, General Manager of the Port Authority Department and Deputy Permanent Secretary to the Ministry of Transport and Communication.

Ban Thong – U is both an evidence of history and a living part of the local biography of the city – proudly shared by not only members of the Tiyabhorn family, nor just the Wad Ket community but also by the people of Chiangmai.