แม้มีหลักฐานปรากฎกล่าวถึงวัดเกตมานานกว่า ๕๐๐ ปีแล้ว หากความเป็นมาที่แท้จริง กระทั่งชื่อวัดเกตการามก็ยังไม่ชัดเจนถึงที่มาและความหมาย ข้าพเจ้าจึงประสงค์บันทึกข้อสังเกตต่างๆไว้เพื่อเป็นเป้าหมายในการค้นคว้าศึกษาในเบื้องลึกต่อไป
วัดเกตการามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับคุ้มเจ้าหลวงซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตก หากคุ้มเจ้าหลวงถูกขายให้กับเจ็กโอ๊ว ต้นตระกูลโอสถาพันธุ์และถูกรื้อถอนเพื่อปลูกสร้างตลาดวโรรส(กาดหลวง)ไว้แทนที่
ในปัจจุบันมีสะพานคนเดินเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำโดยสะดวก คือสะพานจันทร์สม หรือขัวแขกนั่นเอง สร้างโดย"แขก"ผู้มีฐานะร่ำรวย เป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา"จันทร์สม" ผู้ล่วงลับไปก่อน แต่ขัวแขกอันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่นัก หากเป็นการสร้างแทนที่ขัวแตะ ในที่ตั้งเดียวกับขัวกุลา สะพานไม้ดั้งเดิมที่ชำรุดเสียหายจากการถูกท่อนซุงชน ด้วยในยุคนั้นใช้แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งท่อนซุงจากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้
สะพานไม้นี้เองที่เป็นสะพานเก่าแก่แห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ มีปรากฏหลักฐานกล่าวถึงแม้ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่าท่าวัดเกตเป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่จะเข้าถึงเมืองเชียงใหม่ได้จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และด้วยเหตุที่ตั้งอยู่หน้าคุ้มเจ้าหลวง จึงต้องเป็นเส้นทางเสด็จเข้าเมืองมาแต่ไหนแต่ไร
ชวนให้นึกถึงเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสะแกของกรุงเทพเป็นวัดสระเกศ ด้วยสืบเนื่องจากครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับเข้าพระนครเพื่อปราบกบฏพระยาสรรค์และความวุ่นวายต่างๆในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยับยั้งสระผมที่วัดสระเกศนี้ก่อนเข้าพระนคร(ธนบุรี)ซึ่งอยู่อีกฝากของแม่น้ำเจ้าพระยาการสระผม ณ อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำ ก่อนเข้าเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทาง อันดูเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกลืมเลือนไปแล้ว บางทีวัดเกตแต่เดิมนั้นอาจเป็นวัดสระเกศของนครเชียงใหม่ด้วยสาเหตุเดียวกัน ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอันคล้ายคลึง อยู่บนเส้นทางก่อนจะข้ามแม่น้ำเพื่อเข้าถึงคุ้มเจ้าหลวง เหมาะกับการทำพิธีสระผมก่อนข้ามฟากเข้าเมืองนัก
ยิ่งไปกว่านั้น อาคารไม้โบราณ ๒ ชั้นหลังหนึ่งของวัดเกต ซึ่งนอกจากอักษรจารึกว่า สร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๒ แล้ว ยังปรากฏชื่อจารึกไว้ว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดสระเกศ
นอกจากที่มาของชื่อวัดแล้ว วัดเกตการามน่าจะเคยมีความสำคัญสูงยิ่งต่อราชสำนักเชียงใหม่ อย่างน้อยในชั้นหลังคือยุครัตนโกสินทร์ อันดูจะมีคติว่าเชื้อวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครเป็นวงศ์แห่งท้าวสักกะเทวราช ดังปรากฏพระนามของเจ้าหลวงในอดีตว่า อินทวโรรส อันมีความหมายว่าบุตรแห่งพระอินทร์
ลงตัวกับพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีของวัดเกต อันถือคติจำลองจากองค์จริงบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ประทับแห่งองค์อมรินทร์ ชะรอยลูกชายพระอินทร์ท่านคงทนคิดถึงบ้านเก่าไม่ไหว จนต้องสร้างองค์จำลองไว้กราบไหว้สักการะให้พอหายคิดถึงกระมัง
วัดเกตการามตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับคุ้มเจ้าหลวงซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตก หากคุ้มเจ้าหลวงถูกขายให้กับเจ็กโอ๊ว ต้นตระกูลโอสถาพันธุ์และถูกรื้อถอนเพื่อปลูกสร้างตลาดวโรรส(กาดหลวง)ไว้แทนที่
ในปัจจุบันมีสะพานคนเดินเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำโดยสะดวก คือสะพานจันทร์สม หรือขัวแขกนั่นเอง สร้างโดย"แขก"ผู้มีฐานะร่ำรวย เป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา"จันทร์สม" ผู้ล่วงลับไปก่อน แต่ขัวแขกอันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่นัก หากเป็นการสร้างแทนที่ขัวแตะ ในที่ตั้งเดียวกับขัวกุลา สะพานไม้ดั้งเดิมที่ชำรุดเสียหายจากการถูกท่อนซุงชน ด้วยในยุคนั้นใช้แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งท่อนซุงจากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้
สะพานไม้นี้เองที่เป็นสะพานเก่าแก่แห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ มีปรากฏหลักฐานกล่าวถึงแม้ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่าท่าวัดเกตเป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่จะเข้าถึงเมืองเชียงใหม่ได้จากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง และด้วยเหตุที่ตั้งอยู่หน้าคุ้มเจ้าหลวง จึงต้องเป็นเส้นทางเสด็จเข้าเมืองมาแต่ไหนแต่ไร
ชวนให้นึกถึงเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสะแกของกรุงเทพเป็นวัดสระเกศ ด้วยสืบเนื่องจากครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพกลับเข้าพระนครเพื่อปราบกบฏพระยาสรรค์และความวุ่นวายต่างๆในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยับยั้งสระผมที่วัดสระเกศนี้ก่อนเข้าพระนคร(ธนบุรี)ซึ่งอยู่อีกฝากของแม่น้ำเจ้าพระยาการสระผม ณ อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำ ก่อนเข้าเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทาง อันดูเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกลืมเลือนไปแล้ว บางทีวัดเกตแต่เดิมนั้นอาจเป็นวัดสระเกศของนครเชียงใหม่ด้วยสาเหตุเดียวกัน ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอันคล้ายคลึง อยู่บนเส้นทางก่อนจะข้ามแม่น้ำเพื่อเข้าถึงคุ้มเจ้าหลวง เหมาะกับการทำพิธีสระผมก่อนข้ามฟากเข้าเมืองนัก
ยิ่งไปกว่านั้น อาคารไม้โบราณ ๒ ชั้นหลังหนึ่งของวัดเกต ซึ่งนอกจากอักษรจารึกว่า สร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๒ แล้ว ยังปรากฏชื่อจารึกไว้ว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดสระเกศ
นอกจากที่มาของชื่อวัดแล้ว วัดเกตการามน่าจะเคยมีความสำคัญสูงยิ่งต่อราชสำนักเชียงใหม่ อย่างน้อยในชั้นหลังคือยุครัตนโกสินทร์ อันดูจะมีคติว่าเชื้อวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครเป็นวงศ์แห่งท้าวสักกะเทวราช ดังปรากฏพระนามของเจ้าหลวงในอดีตว่า อินทวโรรส อันมีความหมายว่าบุตรแห่งพระอินทร์
ลงตัวกับพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีของวัดเกต อันถือคติจำลองจากองค์จริงบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ประทับแห่งองค์อมรินทร์ ชะรอยลูกชายพระอินทร์ท่านคงทนคิดถึงบ้านเก่าไม่ไหว จนต้องสร้างองค์จำลองไว้กราบไหว้สักการะให้พอหายคิดถึงกระมัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น